หลักสูตรมหาบัณฑิต
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพการแพทย์แบบบูรณาการ สามารถทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพการแพทย์อย่างมีคุณภาพ มีความเป็นนักวิชาการ และมีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ และรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
ประกอบด้วยการเรียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และทำปริญญานิพนธ์ 12 หน่วยกิต โดยส่วนของรายวิชาเอกและวิชาเลือกนิสิตสามารถเลือกเรียนตามกลุ่มวิชาที่สนใจที่จะทำปริญญานิพนธ์ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี จุลชีววิทยา สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และ เภสัชวิทยา
รายวิชาในหลักสูตร มีดังนี้
- 1.หมวดวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน 12 หน่วยกิต
พศก 501 ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล 3(3-0-6)
พศก 502 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2(1-2-3)
พศก 511 เครื่องมือและเทคนิคในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 1(0-3-0)
ชวพ 501 ชีวภาพการแพทย์ 1 2(2-0-4)
ชวพ 502 ชีวภาพการแพทย์ 2 2(2-0-4)
ชวพ 671 สัมมนาทางชีวภาพการแพทย์ 1 1(0-2-1)
ชวพ 672 สัมมนาทางชีวภาพการแพทย์ 2 1(0-2-1)
ชวพ 503 หลักการสอนและการเรียนรู้ (บังคับไม่นับหน่วยกิต) 1(0-2-1)
ชวพ 504 การประกันคุณภาพการศึกษา(บังคับไม่นับหน่วยกิต) 1(0-2-1)
- 2.หมวดวิชาเอก กำหนดให้เรียน 8 หน่วยกิต ในแต่ละแขนงวิชา
กลุ่มวิชากายวิภาคศาสตร์
กภ 602 ประสาทชีววิทยาของมนุษย์ 2(2-0-4)
กภ 603 จุลกายวิภาคศาสตร์เชิงหน้าที่ 2(2-0-4)
กภ 611 ปฏิบัติการทางกายวิภาคศาสตร์ 1(0-3-0)
กภ 621 มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 3(2-3-4)
กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
จช 601 จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน 4(4-0-8)
จช 602 การก่อโรคโดยจุลชีพ 2(2-0-4)
จช 621 เทคนิคทางจุลชีววิทยา 2(1-3-2)
กลุ่มวิชาชีวเคมี
ชค 601 ชีวเคมีการแพทย์ 3(3-0-6)
ชค 602 ชีวเคมีกายภาพ 1(1-0-2)
ชค 603 บูรณาการของมหโมเลกุลในระบบของเซลล์ 2(2-0-4)
ชค 621 หลักการวิเคราะห์สารชีวโมเลกุล 2(1-3-2)
กลุ่มวิชาพยาธิวิทยา
พธ 601 พยาธิวิทยาพื้นฐาน 2(2-0-4)
พธ 602 พยาธิวิทยาเชิงระบบ 2(2-0-4)
พธ 621 พยาธิวิทยาคลินิก 4(3-3-6)
กลุ่มวิชาเภสัชวิทยา
ภส 601 หลักการทางเภสัชวิทยา 1(1-0-2)
ภส 602 เภสัชวิทยาเชิงระบบ 1 2(2-0-4)
ภส 603 เภสัชวิทยาเชิงระบบ 2 2(2-0-4)
ภส 604 เภสัชวิทยาเชิงระบบ 3 2(2-0-4)
ภส 605 เภสัชวิทยาระดับโมเลกุล 1(1-0-2)
กลุ่มวิชาสรีรวิทยา
สร 601 สรีรวิทยาเชิงระบบ 1 2(2-0-4)
สร 602 สรีรวิทยาเชิงระบบ 2 2(2-0-4)
สร 603 สรีรวิทยาเชิงระบบ 3 2(2-0-4)
สร 604 สรีรวิทยาเชิงระบบ 4 2(2-0-4)
- 3.หมวดวิชาเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเรียนจากรายวิชาในหลักสูตร หรือจากรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาอื่นๆ ของคณะแพทยศาสตร์ โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
กลุ่มวิชาชีวภาพการแพทย์
ชวพ 601 ประสาทวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
ชวพ 602 สมุนไพรทางการแพทย์ 2(2-0-4)
กลุ่มวิชากายวิภาคศาสตร์
กภ 601 คัพภะวิทยาของมนุษย์ 2(2-0-4)
กภ 622 กล้องจุลทรรศน์และเทคนิคการศึกษาเนื้อเยื่อ 2(1-3-2)
กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
จช 603 จุลชีววิทยาประยุกต์ 2(2-0-4)
จช 604 จุลชีววิทยาการแพทย์ 2(2-0-4)
จช 605 วิทยาภูมิคุ้มกัน 1(1-0-2)
จช 606 วิทยาภูมิคุ้มกันคลินิก 1(1-0-2)
กลุ่มวิชาชีวเคมี
ชค 605 โภชนชีวเคมี 2(2-0-4)
ชค 622 ชีวสารสนเทศศาสตร์ 2(1-3-2)
ชค 623 ชีวเคมียุคใหม่ 2(1-3-2)
กลุ่มวิชาพยาธิวิทยา
พธ 603 เคมีทางพยาธิวิทยา 1(1-0-2)
พธ 622 เซลล์พยาธิวิทยา 2(1-3-2)
กลุ่มวิชาเภสัชวิทยา
ภส 606 หลักการออกฤทธิ์ของยา 1(1-0-2)
ภส 607 หัวข้อพิเศษทางเภสัชวิทยา 1 1(1-0-2)
ภส 608 เทคนิควิจัยทางเภสัชวิทยา 1 1(1-0-2)
ภส 609 เภสัชพันธุศาสตร์ 1 1(1-0-2)
กลุ่มวิชาสรีรวิทยา
สร 605 หลักการทางสรีรวิทยา 2(2-0-4)
สร 606 สรีรวิทยาผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
สร 607 สรีรวิทยาการปรับตัว 2(2-0-4)
สร 611 ปฏิบัติการทางสรีรวิทยา 1(0-3-0)
นิสิตที่จะจบการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2554 โดยจะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมมากกว่า 3.00 สอบ ผ่านการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย ทำการศึกษาครบตามหน่วยกิตที่กำหนดของรายวิชาแต่ละหมวด สอบผ่านการทำปริญญานิพนธ์พร้อมส่งเล่มฉบับสมบูรณ์ต่อบัณฑิตวิทยาลัย และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือนำเสนอในที่ประชุมวิชาการในรูปแบบ proceedings ที่เป็นแบบฉบับเต็ม
สนใจดูรายละเอียดหลักสูตร link pdf