
thunyada
แบบสรุปการจัดการความรู้ 1. การจัดการความรู้ของหน่วยงาน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
หัวข้อในการจัดการความรู้ (Knowledge Vision)
เรื่อง นวัตกรรมเฝือกยางพารา (ต่อเนื่อง) วัน/เดือน/ปี ที่จัดการความรู้ วันที่ 16 ธันวาคม 2564 |
||||||||||||
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิยม ละออปักษิณ (ผู้จัดการความรู้ KM Manager) 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ฐิติณัฐ ดิลกหัตถการ (คุณอำนวย Facilitator) 3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยิ่งยง ต่ออุดม (คุณลิขิต Note Taker) 4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญณรงค์ เกษมกิจวัฒนา (คุณกิจ) 5. นายแพทย์คมสัน ปลั่งศิริ (คุณกิจ) 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ศุภกิจ พิมลธเรศ (คุณกิจ) 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธงชัย ก่อสันติรัตน์ (คุณกิจ) 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฎ์ รังษิณาภรณ์ (คุณกิจ) 9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชลวิช จันทร์ลลิต (คุณกิจ) 10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา (คุณกิจ) 11. นายแพทย์ธนา ศิริพิสิฐศักดิ์ (คุณกิจ) 12. นายแพทย์ปวริศร สุขวนิช (คุณกิจ) 13. นายแพทย์รณชิต บุญประเสริฐ (คุณกิจ) 14. นายแพทย์วิทวัส บุญญานุวัตร (คุณกิจ) 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พิงควรรศ คงมาลัย (คุณกิจ) 16. นายแพทย์ภรัณยู วิไล (คุณกิจ) 17. นายแพทย์ณัฐกร มหสุภาชัย (คุณกิจ) 18. นายแพทย์นิคม โนรีย์ (คุณกิจ) 19. นางธัญญาดา โฉมเขียว (คุณกิจ) 20. นางสาวจารุภัทร กองแก้ว (คุณกิจ) 21. นางสาวพัชราภรณ์ บุญมา (คุณกิจ)
|
||||||||||||
3. ความเป็นมาและความสำคัญ
สืบเนื่องจากการปฏิบัติการ KM ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับความพิการ หรือได้รับบาดเจ็บ ต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะและหลายสาขา ซึ่งสาขาออร์โธปิดิกส์ เป็นสาขาหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา4 การรักษาทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ นิยมใช้วิธีการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยเหล็กดามภายในและมีแนวโน้มจะมากขึ้นอย่างไรก็ตามนอกจากการรักษาโดยวิธีผ่าตัดกระดูกและข้อแล้ว ยังมีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด โดยจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ดามภายนอกช่วย คือ เฝือก ซึ่งเฝือกถือเป็นมาตรฐานในการรักษา นอกจากนี้เฝือกยังสามารถนำไปใช้ในการรักษาประคับประคองข้อที่ผิดงอ ผิดรูปได้ สำหรับการใช้เฝือก ถ้าอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ มักไม่มีปัญหา แต่ถ้าขาดความชำนาญจะเกิดปัญหาบางครั้ง แม้แต่แพทย์สาขาออร์โธปิดิกส์ที่จบใหม่ เช่น การใส่คับไป ทำให้แขน ขา ขาดเลือดมาเลี้ยง กล้ามเนื้อตาย และถึงกับต้องตัดแขน ขา มาแล้ว รวมทั้งผู้ป่วยที่สูญเสียหรือความรู้สึกลดลง เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยที่กระดูกไขสันหลังได้รับบาดเจ็บและสูญเสียความรู้สึก8,10 กลุ่มความพิการทางไขสันหลัง6 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน3 อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยการผ่าตัดยังไม่ใช่วิธีการที่จำเป็นเสมอไปแม้แต่ในเด็ก รวมทั้งในกลุ่มที่บาดเจ็บเล็กน้อย กลุ่มที่มีข้อบ่งชี้ห้ามผ่าตัดหรือแม้แต่กลุ่มที่การรักษายังเป็น 2 ทางเลือก (controversy) ว่าจะผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด7 รวมทั้งการรักษาที่เป็นการดามแขน ขา ชั่วคราว ซึ่งยังต้องอาศัยเฝือก อย่างไรก็ตามพบว่าปัญหาทั่วไปของเฝือกอาจกลายเป็นเรื่องปกติ คือ กรณีเฝือกหัก จะใส่ใหม่ให้หนาขึ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหนักขึ้น นอกจากนี้เฝือกที่ใช้กันอยู่ ยังมีปัญหากับผู้ป่วยในเรื่องการดูแลหลังใส่ ไม่ว่าจากการคัน, คับไปต้องไปพบแพทย์ เมื่อยุบบวมจะหลวมต้องเปลี่ยนเฝือกใหม่ เป็นต้น ในกรณี mobile unit ตามรถพยาบาลทั่วไป จะมีเพียงไม้ดามขาเมื่อผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ จะใช้ไม้ดามขณะนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งไม่เคยมีใครคิดที่จะหาวิธีที่เหมาะสมมาก่อน ปัจจุบันตามโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ใช้อุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกสำเร็จรูป เช่น เฝือกกันน้ำ9 หรือเฝือกชนิดที่นำเข้าจากประเทศอเมริกาและอินเดีย เรียกว่า air cast walking boot ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วกว่า สามารถปั๊มลมเข้าไปเพื่อเพิ่มความกระชับกับตัวเฝือก แต่มีราคาแพง ประมาณ 3,200-4,600 บาท ตามระเบียบกรมบัญชีกลางสามารถเบิกได้ 3,000 บาท มี 3 ขนาด คือขนาด S, M และ L มีการปรับขยายโดยใช้หลักการปั๊มลมภายในเพื่อให้เหมาะเข้าได้กับรูปทรงบริเวณข้อเท้าแต่ยังไม่สามารถตัดตกแต่งได้ ถ้าขาสั้นหรือยาวเกินไป เนื่องจากทำด้วยพลาสติกแบบแข็ง และปัญหาเรื่องการทำลายย่อยสลายเนื่องจากเป็นพลาสติก นอกจากนี้ในบางกรณี เฝือกพลาสติกหรือเฝือกสังเคราะห์บางชนิดที่เมื่อนำมาใช้จะเกิดความร้อนสำหรับแพทย์จบใหม่ทียังไม่มีประสบการณ์อาจทำให้เกิดผิวหนังไหม้ได้2,5 จากสภาพการณ์ข้างต้น ประกอบกับปัญหาระดับประเทศในเรื่องราคาน้ำยางพาราตกต่ำมาก จึงได้มีการนำเฝือกประดิษฐ์จากน้ำยางพารามาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ถือเป็นนวัตกรรมที่มีเป็นครั้งแรก ในเชิงอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ความต้องการสมบัติการทนต่อการใช้งานยิ่งมีมากขึ้น เช่น ต้องการให้มีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิระดับต่างๆ ทนต่อการเสื่อมอันเนื่องมาจากสารเคมีต่างๆ (เช่น ตัวทำละลาย น้ำมันต่างๆ สารทำความเย็น เป็นต้น) ทนการยุบตัวในแนวแรงกด ทนแรงดึงได้สูง ทนต่อการฉีกขาด1 ในการศึกษานี้ขั้นตอนที่ 1 ช่วงทดสอบความเป็นไปได้จากแนวคิดทฤษฎีสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ พบว่าสามารถสร้างเฝือกจากน้ำยางพาราได้จริง (ช่วงปี พ.ศ.2558-2559) โดยได้รับทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นเฝือกยางพาราแบบนิ่ม ความแข็งแรงยังไม่เท่ากับเฝือก แต่สามารถนำไปต่อยอดในผู้ป่วยกลุ่มที่พิการทางเท้า ข้อเท้าตก เท้าแปรรูปในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงจึงมีการวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงขั้นตอนที่ 2 เป็นระยะทดลองผลิตภัณฑ์ในคลินิก (ช่วงปี พ.ศ.2560-2561) เริ่มทำให้เฝือกยางพารามีความแข็งแรงมากขึ้นลักษณะเป็นฝาสีดำห่อหุ้มบริเวณขาด้านหลัง เริ่มมาทดลองใช้ทางคลินิกจนได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจและในขณะ นี้เป็นขั้นตอนทื่ 3 ระยะผลักดันผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรม (ช่วงปี พ.ศ.2562-2563) ซึ่งขณะนี้ได้ประดิษฐ์มาในลักษณะพร้อมใช้เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น สร้างการแข่งขันทางการตลาดได้ เป็นเฝือกลักษณะฝาสั้นที่ขา (Short leg Slab) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) ที่จะเข้าขั้นตอนการนำไปใช้จริง โดยสิ่งประดิษฐ์นี้ได้ผ่านขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตรในเรื่องสูตรเคมีของส่วนผสมของน้ำยาง และผ่านขบวนการทางจริยธรรมในการวิจัยแล้ว ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการต่อยอด เพื่อพัฒนาปรับปรุงเฝือกยางพาราต้นแบบ (prototype) ให้เป็นเฝือกยางพาราเชิงพาณิชย์ และทดสอบคุณสมบัติและขึ้นทะเบียนคุ้มครองเฝือกยางพาราเชิงพาณิชย์ตามการออกแบบใหม่เพื่อนำสู่การตลาด ในการติดตามการปฏิบัติการครั้งนี้จึงมุ่งหวังถึงความสำเร็จในการเข้าสู่เชิงพาณิชย์และการได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Literature Reviews) 1. วราภรณ์ ขจรไชยกุล. ผลิตภัณฑ์ยาง: กระบวนการผลิตและเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2552 2. Gannaway J.K, Hunter J.R: Thermal effects of casting materials. ClinOrthopRelat Res 1983; 181:191-195. 3. Guyton G.P: An analysis of iatrogenic complications from the total contact cast. Foot Ankle Int 2005;26:903907. 4. Halanski, M., Noonan, K.J: Cast and Splint Immobilization: Complications. Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. January 2008; 16(1): 30-40. 5. Lavalette R, Pope M.H., Dickstein H: Setting temperatures of plaster casts: The influence of technical variables. J Bone Joint Surg Am 1982; 64: 907911. 6. Lock T.R., Aronson D.D: Fractures in patients who have myelomeningocele. J Bone Joint Surg Am 1989;71: 1153-1157. 7. Ragnarsson K.T, Sell GH: Lower extremity fractures after spinal cord injury: A retrospective study. Arch Phys Med Rehabil 1981;62: 418-423. 8. Ramadorai, M.A.J., Uma E., Beuchel, M. W., Sangeorzan, B.J: Fracture and Dislocations of the Tarsal Navicular. Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. June 2016; 24(6): 379-389. 9. Shirley, Eric D., Maguire, K.J., Mantica, A.L: Alternatives to Traditional Cast Immobilization in Pediatric Patients. Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. January 2020; 28(1):e20-e27. 10. Sobel M., Lyden J.P: Long bone fracture in a spinal-cord-injured patient: Complication of treatment. A case report and review of the literature. J Trauma 1991;31: 1440-1444. |
||||||||||||
4. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเข้าสู่เชิงพาณิชย์ 2. เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ระยะเวลาในการดำเนินการ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 5. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด 1. พร้อมในการนำสู่เชิงพาณิชย์โดยผ่านการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ (specification) 2. ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 6. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้ ***(กรุณาระบุ)*** ¨ Dialog ¨ Success Story Telling (SST) ¨ The World Cafe þ ประชุมร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง, ประชุมภาควิชา
7. กระบวนการจัดการความรู้
8. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.7) 1. ผู้บริหารเข้ามาจัดการโดยตรงและมีความชัดเจนในเรื่องนโยบาย 2. มีผู้รับผิดชอบ และกระตือรือร้นตลอดเวลา 3. มีความเข้าใจปัญหา 4. มีภาคเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ |
||||||||||||
9. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน) £ คู่มือ £ แผ่นพับ £ โปสเตอร์ þ โปรแกรมหรือระบบต่างๆ £ มีการเผยแพร่ความรู้ช่องทางต่างๆ เช่น Website ระบุ........................ 10. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM 1. ผ่านการคุ้มครองสิทธิบัตรทางการออกแบบ 100 % 2. สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ โดย ผ่านการตรวจสอบและประสบผลสำเร็จในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเพื่อเข้าสู่การขึ้นทะเบียนนวัตกรรม และ มอก.
11. After Action Review (AAR) ประสบความสำเร็จ เป็นผลงานของภาควิชาออร์โธปิดิกส์
12. ข้อเสนอแนะ ให้เป็นต้นแบบแก่คณะแพทยศาสตร์
13. ภาพประกอบการทำกิจกรรมและผลสำเร็จ |
รายละเอียดต่างๆ
คลิก ประกาศรับสมัคร แพทย์ประจำบ้าน ปี 2565 รอบที่ 1
พิธีมอบใบประกาศนียบัตร ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มศว
Posted by thunyada in: ภาพกิจกรรมจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรแพทย์ใช้ทุน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ให้กับนายแพทย์ศศิพงษ์ เลิศนันทปัญญา
และ นายแพทย์ภรัณยู วิไล ที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โธปิดิกส์ โดยมีคณาจารย์ และแพทย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ร่วมแสดงความยินดีและกล่าวให้โอวาท ณ ห้องประชุมภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ชั้น ๑๔ อาคารศูนย์การแพทย์ฯ มศว องครักษ์ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙