
admin
Administrator
การมีส่วนร่วมตามแผนยุทธศาสตร์ SMARTประจำปีงบประมาณ 2560-2562
Posted by admin in: ประชาสัมพันธ์
หลักสูตร
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ได้จัดการเรียนการสอนโดยกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาของรายวิชาให้สอดคล้องกับหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์และเกณฑ์มาตรฐาน
ของแพทยสภา ดังนี้
ศธ 521 ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และปฏิบัติการทางคลินิก(Orthopedic and clerkship) 3(1-6)
ปฏิบัติงานตรวจผู้ป่วยในและห้องตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูก เส้นเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ ตลอดจนรักษาทั้งในด้านทางยา ทางผ่าตัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ศธ 611 ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ปฏิบัติการทางคลินิก(Clerkship in Orthopedic) 3(0-9)
ปฏิบัติงานตรวจผู้ป่วยในและห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง ทำแผล ตัดไหม เข้าเฝือก ช่วยทำผ่าตัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (Curriculum for Thai Orthopaedics Residency Training) จำนวน 4 ปี
ภาควิชาจัดให้มีการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 50 สัปดาห์ต่อปี
ปีการศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาอบรมพื้นฐานความรู้ทั่วไปและความรู้พื้นฐานทางศัลยศาสตร์ โดยจัดให้หมุนเวียนผ่านการฝึกอบรมในสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ศัลยศาสตร์ตกแต่ง อนุสาขาโรคข้อ สาขาอายุรศาสตร์ สาขาพยาธิวิทยาของกระดูกเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง
และวิสัญญีวิทยา โดยให้มีการเรียนการสอนสาขาละไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
ปีการศึกษาที่ 2, 3 และ 4 ให้มีการศึกษาอบรมในสาขาออร์โธปิดิกส์ทั่วไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 150 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาวิชาดังนี้
- ทางด้านอนุสาขาการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่น้อยกว่า 50 สัปดาห์
- การดูแลรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ทางออร์โธปิดิกส์ ไม่น้อยกว่า 38 สัปดาห์
- การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กทางออร์โธปิดิกส์ ไม่น้อยกว่า 20 สัปดาห์
- การผ่าตัดเกี่ยวกับมือ ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยเนื้องอกทางออร์โธปิดิกส์ ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
- การศึกษาอบรมในสาขาพยาธิวิทยา ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
- การศึกษาอบรมในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
- การศึกษาอบรมในสาขาวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์
การหมุนเวียนศึกษาอบรมดำเนินการในสถาบันที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาแล้วเท่านั้น ยกเว้นในช่วงวิชาเลือกเป็นการรับผิดชอบของสถาบันฝึกอบรมหลักในการเลือกและ
รับรองสถาบันฝึกอบรมสมทบ การฝึกอบรมในชั้นปีที่4 เน้นการตัดสินใจและการวางแผนการรักษาเป็นหลัก รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการเรียนนักศึกษาแพทย์และบุคลากรทาง
การแพทย์ด้วย นอกจากนั้นจัดให้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกทักษะด้านการบริหารทั่วไป ปฏิบัติงานด้านธุรการ การจัดการคุณภาพ การบริการวิชาการ และการบริหารการศึกษาใน
ฐานะหัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน ระหว่างการศึกษาและฝึกอบรม จัดให้แพทย์ประจำบ้านมีโอกาสศึกษาระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมและแพทย์ประจำบ้านมีประสบการณ์การวิจัย
และส่งผลงานวิจัยต่อคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาออร์โธปิดิกส์ที่แพทยสภาแต่งตั้งโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาออร์โธปิดิกส์
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ใช้ทุนสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (Curriculum for Thai Orthopaedics Residency Training) จำนวน 5 ปี
ชั้นปีที่ 1 หมุนเวียนปฏิบัติงานทุกภาควิชา (เพิ่มพูนทักษะ)
ชั้นปีที่ 2,3,4,5 ปฏิบัติงานดังนี้
ปีที่ 2 ปฏิบัติงานในสาย 10 เดือน
- Patho 1 เดือน
- PM & R 1 เดือน
ปีที่ 3 ปฏิบัติงานในสาย 8 เดือน
- Trauma 1 เดือน
- Hand 1 เดือน
- Rheumato 1 เดือน
- Elective 1 เดือน
ปีที่ 4 ปฏิบัติงานในสาย 8 เดือน
- Pediatric 1 เดือน
- Trauma 1 เดือน
- Tumor 1 เดือน
- Hand 1 เดือน
ปีที่ 5 ปฏิบัติงานในสาย 6 เดือน
- Elective 2 เดือน
- Pediatric 1 เดือน
- Recon 1 เดือน
- Sport 1 เดือน
- Spine 1 เดือน
ประวัติความเป็นมาของภาควิชา
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยร่วมกับวชิรพยาบาล ใช้ชื่อคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลซึ่งในระยะ
แรกอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ วชิรพยาบาลร่วมกับอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อมาจึงมีอาจารย์
สังกัดภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ โดยอาจารย์ท่านแรกคือ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อรุณวงศ์ เทพชาตรี ซึ่งโอนย้ายมา
เมื่อ พ.ศ. 2531 ใน พ.ศ.2535 มีอาจารย์จำนวน 4 ท่าน
พ.ศ. 2543 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เริ่มเปิดดำเนินการภาควิชาออร์โธปิดิกส์จึงได้เปิดให้บริการที่ศูนย์การแพทย์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการรักษาผู้ป่วยกระดูกทั่วไป
พ.ศ. 2544 เริ่มเปิดการเรียนการสอนแก่นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชา ศธ 521 และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รายวิชา ศธ 611 แต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากวชิรพยาบาล
และโรงพยาบาลตำรวจในการจัดการเรียนการสอนบางส่วน
พ.ศ. 2545 ได้พัฒนาการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชา ศธ 521 เรียนที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เต็มรูปแบบและนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รายวิชา ศธ 611 บางส่วนยังต้องเรียนร่วมกับ โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
พ.ศ.2550 ภาควิชาได้เปิดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์(Curriculum for Thai Orthopaedics Residency Training)
ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้และนำองค์ความรู้มาพัฒนาคุณภาพนิสิตแพทย์ ตลอดจนให้บริการทางด้านวิชาการต่อสังคม
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์นคร สมบูรณ์วิทย์ พ.ศ. 2529 - 2536
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ไพฑูรย์ เนาวรัตโนภาส พ.ศ. 2536 - 2538
นายแพทย์สุกิจ หาญพานิช พ.ศ. 2538 - 2541
นายแพทย์พิชญา นาควัชระ พ.ศ. 2541 - 2545
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์นภดล พนอำพน พ.ศ. 2545 - 2553
นายแพทย์คมสัน ปลั่งศิริ พ.ศ. 2553 - 2561
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิยม ละออปักษิณ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน