งานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์
หลักการเคารพในบุคคล
แสดงโดยการเคารพในศักดิ์ศรีของคนหรือกลุ่มชน จากการขอคำยินยอมโดยบอกกล่าวและให้อิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย (Respect for free and informed consent)
การไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว (Respect for privacy) เช่น ไม่รุกล้ำร่างกาย หรือไม่ถามเรื่องส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต่อการวิจัย หรือไม่ขอคำยินยอม การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Respect for confidentiality)
การดูแลกลุ่มศึกษาที่เปราะบางอย่างเหมาะสมและดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Respect for vulnerable person) เช่น เด็กและผู้เยาว์ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยวิกฤติ
ไม่มีส่วนลบหลู่ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมใด ๆ ในโครงการวิจัย
หลักการให้คุณประโยชน์
แสดงโดยการปรับโครงการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเสี่ยงหรือภยันตรายน้อยที่สุด (Balancing risk and benefit: Minimizing risk, Maximizing benefit)
หลักการและเหตุผลที่ต้องทำวิจัย การออกแบบวิจัย ได้มาซึ่งคำตอบต่อคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง (Scientific merit)
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับโดยตรงการรักษาหรือวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับเงินตอบแทน รางวัล (remuneration) ที่ให้กับผู้ป่วย/อาสาสมัคร
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะได้รับจากผลการศึกษา ประโยชน์ที่วงการวิทยาศาสตร์ได้รับ ประโยชน์เหนือว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย/อาสาสมัคร และชุมชน
ผลเสียทางกาย (Physical harm) เช่น เจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยา อันตรายจากผลข้างเคียงของยา, การบาดเจ็บจากการผ่าตัด, หรือ ความไม่สะดวกสบาย (discomfort) จากการต้องลืมตาโดยไม่กระพริบนาน 10 นาที เป็นต้น
ผลเสียทางใจ (Psychological harm) ได้แก่ ความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิดภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งเป็นผลของยา
ความอับอาย เช่น การถามผู้ป่วย/อาสาสมัครเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การวิจัยที่ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดถึงบุตรหลาน เป็นต้น
ผลเสียต่อฐานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Social and Economic harms) เช่น การเข้าร่วมโครงการวิจัยทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นมากเกินจำเป็น
เสียเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย เป็นต้น ผลเสียต่อสถานะสังคม, การจ้างงาน ของผู้ป่วย/อาสาสมัคร, การรับโทษทางกฎหมาย การสูญเสียสิทธิด้านประกันชีวิต ฯลฯ
ผลการวิจัยไม่ทำลายความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลักความยุติธรรม
แสดงโดย ไม่แบ่งแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว เพื่อให้การกระจายประโยชน์และความเสี่ยงเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม (Distributive justice)
การให้ยารักษาฟรีแก่กลุ่มตัวอย่างต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังเสร็จสิ้นการวิจัยไปแล้ว กระบวนการพิจารณาเชิงจริยธรรมที่มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การแสดงผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ขั้นตอนการพิจารณาที่เที่ยงธรรม
โครงการวิจัย ที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการฯ
- การเรียนการสอน เช่น การให้นักศึกษาเจาะเลือดกันเองเพื่อดูลักษณะเม็ดเลือด
- การประเมินการทำงานของลูกจ้างหรือบุคลากร หรือองค์กร การประกันคุณภาพที่อยู่กายใต้กรอบการศึกษาตามปกติ
- การวิจัยข้อมูลที่ให้บริการแก่ประชาชน หรือข่าวสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือการกระทำที่ต้องการเปิดเผยต่อสาธารณชน